Friday, October 12, 2007

สรุป

สรุปสิ่งที่ได้จากวิชานี้ คือ ความรู้ในเรื่องของการใช้ความคิดจากเมื่อก่อนที่ทำงานโดยคิดเพียงเปลือกไม่ได้คำนึงถึงแก่นของชิ้นงาน การทำแบบผิวเผือน จากวิชานี้ทำให้ได้รู้การคิดที่จะทำให้รูว่าการคิดให้มากให้ลึก ทำความเข้าใจกับมันเยอะๆจะส่งผลดีกับการทำงาน และงานที่อาจารย์นำมาให้ดูก็ให้ความรู้ในทางด้านการคิดมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นงานหนังเรื่อง babal ซึ่งทำให้ได้คิดอะไรหลายอย่างจากโปสเตอร์เรื่องนี้ นำมาวิเคราะห์ และได้รู้ไปถึงประวัติความเป็นมาของชื่อเรื่อง
และเรื่องของมายาคติ ซึ่งเรื่องนี้จะว่าด้วยความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่นักออกแบบได้คิดว่าเขาต้องการสื่อสารอะไรออกมา ได้เรียนเรื่องนี้ตอนแรกก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมถึงจะต้องเรียน แต่เมื่อได้อ่านก็พอที่จะเข้าใจ เรื่องนี้มีเรื่องที่ชอบอยู่หนึ่งเรื่องคือเรื่องของการตลาด ที่เป็นโฆษณาโอโม่ ได้เข้าใจว่าเขามีความคิดทางการตลาดอย่างไร การทำโฆษณาชวนเชื่อ ชักจูงของเขามีวิธีการทำอย่างไร

อนาคต

สิ่งที่อยากจะทำในอนาคต
เมื่อสมัยตอนเรียนอยู่มัธยมมีความใฝ่ฝันอยากจะเรียนคณะศิลปกรรมศาสตร์มาก เป็นคณะที่ชอบ ได้วาดรูประบายสีไม่ต้องเรียนคณิต แต่พอได้มาเรียนเข้าจริงๆแล้วก็ไม่ได้เป็นอย่างที่คิดไว้ยากกว่าที่คิดไว้เยอะ ในตอนแรกที่เรียนก็คิดว่าจบไปแล้วจะเป็นนักออกแบบด้านภาพประกอบ เพราะชอบงานด้านนี้มากที่สุดตั้งแต่เรียนมา ชอบที่จะวาดรูปตัวการ์ตูน แต่พอยิ่งเรียนก็ยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มรู้สึกว่าไม่ได้เป็นอย่างที่ตัวเองคิดไว้เลย แล้วพอมาดูความสามารถของตัวเองและเพื่อนคนอื่นๆ ก็รู้ว่าตัวเองไม่ค่อยเหมาะกับอาชีพนักออกแบบเท่าไหรั่ก ถ้าจบไปจึงคิดว่าจะรับงานอิสระก่อนในช่วงแรกเพื่อจะได้ทำ portfolioไปในตัว เพราะตอนนี้ก็มีรับงานออกแบบwebsite อยู่บ้างซึ่งมีพี่คอยแนะนำลูกค้ามาให้อีกที และทางบ้านข้าพเจ้าก็มีบริษัทเกี่ยวกับบัญชีและกฎหมาย ก็จะมีลูกค้ามาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ซึ่งทางลูกค้าที่มาใช้บริการส่วนใหญ่จะยังไม่มี logoเป็นของตัวเอง เขาก็จะมาจ้างให้ออกแบบ logoให้ หลังจากเรียนจบไปอาจจะรับงานพวกนี้ไปก่อนเพื่อจะได้รวบรวมport และพัฒนางานไปด้วย ไม่อยากจะไปทำงานด้านอื่นเพราะไม่อยากทิ้งวิชาที่เรียนมาถึง4ปี

ความเป็นไปได้ ที่จะเป็นไปตามที่วางแผนไว้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวเองว่างานที่นำเสนอและที่แสดงความเป็นตัวตนของเรานั้น จะเป็นที่ถูกใจกับผู้ที่จะรับเราเข้าร่วมงานหรือไม่ก็น่าจะขึ้นอยู่กับความคิดและประสบการณ์ของเราด้วยว่าจะมีมากน้อยเพียงใด

จินตนาการ

จินตนาการ ก็คือ การสร้างภาพขึ้นในจิตใจ ภาพที่ถูกสร้างขึ้นในจิตใจนั้น มีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่เน้นว่า มนุษย์ เพราะผู้เขียนยังไม่ได้เข้าไปศึกษาถึงการดำเนินชีวิตของสิ่งที่มีชีวิตอื่น ๆ โดยภาพที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นในจิตใจนั้นมีความแตกต่าง หลากหลาย ไปตามความเข้าใจ และมองเห็นได้ของแต่ละคน ผู้เขียนเองมี ประสบการณ์ ความเข้าใจ และ มองเห็นภาพในจิตใจของตัวเองเป็นการเฉพาะ ที่จะขอนำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้มองตามไปบ้าง จะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยอย่างไรนั้น ขอให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อ่านทุกท่านเอง

จินตนาการที่เคยประสบกับตัวเอง ในคืนที่เงียบสงัดเวลาประมาณตี2 ในห้องที่มืดมิด ข้างนอกหน้าต่างมีลมพัดไหวๆ ลมหนาวที่เล็ดลอดเข้ามาทางช่องเล็กๆทำให้ชวนขนลุก ในห้องที่เงียบและเย็น ข้าพเจ้ามักจะได้ยินเสียงแปลกๆ เป็นเสียงผู้ชายที่เหมือนจะกระซิบคุยอยู่บ่อยครั้ง

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นจินตนาการในส่วนลึกจิตใต้สำนึกที่ว่า ถ้ามืดและเงียบบรรยายกาศวังเวง ก็จะเกิดอาการหลอนตัวเองโดยคิดไปว่ามีสิ่งลึกลับอยู่รอบๆตัว อยากจะสืบเนื่องมาจากการที่ได้ดูหนังสยองขวัญจนเก็บมาคิดและจินตนาการเป็นเรื่องราวตามที่ตนเองอยากจะให้เป็นและเกิดขึ้นไปตามสมองสั่งการ

Tuesday, July 31, 2007

thinking

ความคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น การที่ตัวเองจะลดน้ำหนักเพราะอ้วนนั้นต้องทำเช่นไร ก็ต้องวิเคราะห์ว่าเหตุที่ทำให้อ้วนเพราะอะไร ความอ้วนมีด้วยกันหลายสาเหตุคือกินเก่ง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันมาก หรือการดื่มน้ำอัดลมเยอะ หรือการไม่ออกกำลังกาย หรือเป็นกรรมพันธุ์ เป็นต้น ถ้าสืบค้นไปเรื่อยๆ จะพบว่าสาเหตุที่อ้วนเป็นเพราะว่าเราทานแล้วไม่ออกกำลังกาย ดังนั้นวิธีลดความอ้วนก็คือการออกกำลังกายเยงสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็จะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและบรรลุเป้ามายได้ความคิดเชิงประยุกต์ การนำสิ่งหนึ่งไปใช้ในบริบทอื่นอย่างเหมาะสม เป็นการนำบางสิ่งไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การนำกระบวนความคิดในวิชา Understanding มาใช้กับวิชาอื่นๆ เป็นการนำกระบวนความคิดที่ต้องคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน คิดจากเปลือกข้างนอกที่เห็นจนไปถึงแก่นข้างใน มาปรับใช้กับวิชาอื่นๆ ได้ ที่ต้องเน้นการคิดให้มากๆความคิดเชิงเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบชีวิตของตนเองเสมือนดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาจากน้ำได้ เพราะดอกบัวเปรียบเสมือนสติปัญญา ส่วนโคลนตมนั้นอยู่ด้านล่าง ติดพื้นดิน จึงเหมือนกับสติปัญญาของเราที่ตอนนี้ยังจมอยู่กับความคิดตัวเองอยู่ ยังคิดอะไรไม่ออก ไม่สามารถรับรู้อะไร เป็นการเปรียบเทียบสติปัญญาของตนกับดอกบัว ส่วนความโง่เขลาก็เหมือนโคลนตมที่ดึงขึ้นมาเท่าไรก็ดึงขึ้นมาไม่ได้ความคิดเชิงมโนทัศน์ เป็นการคิดรวบยอด ตัวอย่างในปัจจุบันที่เน้นในเรื่องของความพอเพียง การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในยุคของโลกาภิวัฒน์ ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักการพัฒนาประเทศไทยไทยในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้าได้อย่างสมดุลเทียบเท่ากับต่างชาติ ภายใต้การยึดหลักของความพอเพียงความคิดเชิงสร้างสรรค์ ความคิดพัฒนาเรื่องต่างๆ เป็นการแก้ปัญหาด้วยแนวทางใหม่ สำหรับตัวเองเป็นคนตัวเล็ก และในโลกนี้ก็มีคนตัวเล็กอยู่มากมาย โดยเฉพาะเวลาขึ้นรถเมล์ สองแถว ที่ต้องโหน ถ้าเจอคันเล็กก็ดีไป แต่ถ้าเจอคันใหญ่ก็ซวยไป จะโหนยังไงละคนก็เยอะ แถมน้ำใจคนไทยตอนนี้ก็มีกันเยอะเหลือเกิน ถ้าตัวเองเลี่ยงได้ก็จะเลี่ยงเพราะโหนไม่ค่อยถึง เลยอยากให้ทำรถสำหรับคนตัวเล็กบ้างความคิดเชิงวิพากษ์ ใช้พิจารณาเรื่องหนึ่งโดยตั้งคำถามที่ท้าทาย หรือโต้แย้งข้ออ้างนั้น ไม่เห็นคล้อยตามข้ออ้างที่ขาดหลักเหตุผล อย่างเช่นความคิดของตัวเองที่ว่า ไม่เห็นว่าการที่คนจะประสบความสำเร็จจะต้องเชื่อฟังพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่เสมอไป มีหลายคนที่ประสบความสำเจ มีอนาคตที่สวยงาม ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำตามคำสั่งของพ่อแม่ เค้าไม่ได้เรียนหมอตามที่พ่อแม่ต้องการเค้าเรียนเกี่ยวกับศิลปะ การออกแบบก็ประสบความสำเร็จได้ เป็นนักออกแบบที่มีชื่อเสียงได้ มันขึ้นอยู่กับตัวของเด็กเองมากกว่า แต่พ่อแม่ก็มีส่วนในความสำเร็จนั้น การเลี้ยงดู การเอาใจใส่ เป็นต้น การที่พ่อแม่ปล่อยให้ลูกทำในสิ่งที่อยากทำ ทำให้ลูกรู้สึกชอบ มีความสุขในสิ่งนั้น ดีกว่าไปบังคับทำให้ลูกอึดอัด กดดัน จนกลายเป็นประชดประชันแทน ยิ่งป็นการทำลายอนาคตของเด็กมากกว่าความคิดเชิงอนาคต แนวโน้วที่อาจเกิดในอนาคตโดยใช้หลักการคาดการณ์ จาการได้เรียนในคณะนี้ได้เรียนวิชาต่างๆ ที่ให้ใช้ความคิด เจาะลึกในเรื่องๆ นั้น ทำให้เป็นคนที่มีความรอบคอบมากขึ้น และถ้าเรายิ่งได้คิด และเรียไปเรื่อยๆ สะสมประสบการณ์เหล่านี้ ซึมซับมากขึ้น เราก็จะยิ่งเป็นคนที่มีเหตุผล มีความคิดที่เป็นหลักการ มีความรอบคอบทุกเรื่อง ไม่เป็นคนที่มองอะไรเพียงผิวเผิน ประเทศของเราก็จะเกิดเด็กที่คิดเป็นหลักการ เป็นเหตุผลมากขึ้น ไม่คิดเพียงใช้อารมณ์ของตนเป็นหลัก ความคิดเชิงบูรณาการ เชื่อมโยงแนวคิดที่แยกส่วนกันให้เข้ากับเรื่องหลัก ให้แกนหลักมีความสมบูรณ์ขึ้น โดยมองภาพรวมหรือใช้ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมด้วยเพื่อความสมบูรณ์ บูรณาการการเรียนการศึกษากับมนุษย์ การศึกษาจะทำให้มนุษย์เราเป็นมนุษย์มากขึ้น มนุษย์กับคนมีความหมายเหมือนกัน คือเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน มีสมองเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่คนนั้นไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี ถูกต้อง แต่มนุษย์สามารถแยกแยะความดีความชั่วได้ ดังนั้นถ้าคนเรามีการศึกษา มีความรู้ รู้ดี รู้ชั่ว รู้ว่าสิ่งใดควรทำ ไม่ควรทำ ก็จะยิ่งเพิ่มความเป็นมนุษย์ให้กับตนเองได้มากขึ้นความคิดเชิงกลยุทธ์ คิดอย่างรอบคอบ ละเอียด คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ขอยกตัวอย่างเพื่อนคนหนึ่งที่พยายามหาวิธีให้ตัวเองอยู่หอพัก เพราะตัวเองเหนื่อยกับการเดินทาง และมันก็เลิกค่อนข้างดึก เลยทำทีให้พ่อแม่สงสาร เพราะแม่ของเค้าเป็นคนขี้สงสารมากๆ เลยทำเป็นกลับบ้านดึก ทำเป็นเหนื่อยหมดแรง พอแม่เห็นก็สงสารลูก เลยยอมให้อยู่ มันอยู่ได้เพราะมันรู้แม่มันขี้สงสารและรักมันมาก วิธีนี้ไม่ค่อยดีหรอก แต่มันแค่จับจุดอ่อนของแม่มันได้เลยได้อยู่ความคิดเชิงสังเคราะห์ ดึงองค์ประกอบต่างๆ มารวมกันภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้โดยกระบวนการผสมผสานองค์ประกอบต่างๆ อย่างกลมกลืน ตัวอย่างความคิดนี้ในความคิดตัวเองก็ขอยกเรื่องของการทำอาหารยังไม่รู้หรอกว่าจะทำอะไรแต่ก็ซื้อของมา เป็นพวกอาหารสดทั่วไป เช่น ไข่ไก่ เนื้อหมู ไก่ น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำตาล ผักสด หอม กระเทียม ฯลฯ แล้วก็คิดว่าจะประกอบของเหล่านี้ ปรุงเป็นอาหารอะไรดี ทำอะไรได้บ้าง และจะปรุงอย่างไร เป็นแบบทอด ผัด แกง ต้ม ปิ้ง ย่าง หรือว่านึ่งดี

Tuesday, June 26, 2007

บุหรี่

บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ (ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา

จุดประสงค์ของบุหรี่ ไว้สูบเพื่อคลายเครียด
concept พกพาได้และสะดวก รูปแบบของกล่อง สี บอกถึงรสได้
คุณสมบัติของบุหรี่
-มีตราประทับจากกรมสรรพามิต
-ขนาดซองต่างกันไปแล้วแต่ละยี่ห้อ
-ความยาวของมวน พอดีกับปริมาณที่ต้องการสูบ
-สี บอกถึงกลิ่นและรส
-มีซอง2แบบ แข็งและอ่อน แล้วแต่ผู้บริโภคต้องการ
-ขนาดของมวนแต่ละยี่ห้อก็ไม่เหมือนกัน ทั้งด้านความใหญ่ ความยาว
-ต้องจุดติดด้วยไฟ
-ราคาที่แต่งต่างกันก็ขึ้นอยู่ที่คุณภาพของแต่ละยี่ห้อ
ผลที่ได้รับ
ประโยชน์ (ตามความคิดคนทั่วไป)
-คลายเครียด
-เท่ห์
-ถ่ายสะดวก
-ได้เพื่อน(เวลาไปขอบุหรี่,ขอยืมไฟแช็ค)
-รัฐมีรายได้
โทษ
-มะเร็ง
-ถุงลมโป่งพอง
-ฟันเหลือง
-ปากดำ
-หน้าแก่เร็ว
-กลิ่นตัว กลิ่นปาก
-อันตรายต่อคนรอบข้าง

Tuesday, June 12, 2007

เงิน

ประวัติเงินตรา ดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อน พุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งกลุ่มชนเหล่านี้ได้มีการติดต่อกับชุมชนอื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยใช้สื่อกลางใน การแลกเปลี่ยนหลายรูปแบบ เช่น ลูกปัด เปลือกหอย เมล็ดพืช เป็นต้น สำหรับชนชาติไทยสันนิษฐานว่าได้มีการนำโลหะเงินมาใช้เป็นเงินตรามาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย เรียกกันว่า เงินพดด้วง ซึ่งมีเอกลักษณ์ เป็นของตัวเอง และแสดงให้เห็นถึงความเจริญของชนชาติไทยที่ได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้เองเป็นเวลาหลายร้อยปีจวบจนมีการนำเงินเหรียญตามแบบสากลเข้ามาใช้
วิวัฒนาการเงินตราไทย
เงินตราฟูนัน เหรียญเงินด้านหนึ่งมีสัญลักษณ์พระอาทิตย์ครึ่งดวงเปล่งรัศมี อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีวัตสะ กลองบัณเฑาะว์ที่พราหมณ์ใช้ในพิธีต่างๆ และมีเครื่องหมายสวัสดิกะซึ่งหมายถึงความโชคดี
เงินตราทวารวดี เงินตราที่พบยังคงมีสัญลักษณ์เกี่ยวกับกษัตริย์ อำนาจการปกครอง ความอุดมสมบูรณ์ และศาสนา เช่น เหรียญเงินด้านหนึ่งเป็นรูปบูรณกลศ
เงินตราศรีวิชัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 การค้าทางทะเลมีความสำคัญมากขึ้น ส่งผลให้เมืองที่อยู่บน คาบสมุทรสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไชยา และนครศรีธรรมราช
เงินตราสุโขทัย ในสมัยนี้ยังคงใช้เงินพดด้วงเป็นเงินตรา แต่หลวงผูกขาดในการผลิต เงินพดด้วงในสมัยนี้ คล้ายเงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย แต่ตรงปลายขาที่งอจรดกันไม่แหลมเหมือนเงินพดด้วงสุโขทัย ตราที่ประทับส่วนใหญ่เป็นตราจักรและตราประจำรัชกาล
เงินตราสมัยกรุงธนบุรี ในสมัยกรุงธนบุรี ยังคงใช้เงินพดด้วงเช่นครั้งกรุงเก่า สันนิษฐานว่ามีการผลิตเงินพดด้วงขึ้นใช้เพียง 2 ชนิดคือ เงินพดด้วงตราตรีศูลและตราทวิวุธ
สมัยรัชกาลที่ 1 เงินพดด้วงในรัชกาลนี้ เดิมประทับตราจักร และตราตรีศูล แต่หลังจากบรมราชาภิเษกแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเงินพดด้วงประจำรัชกาลแล้วประทับตราพระแสงจักร-บัวอุณาโลม
สมัยรัชกาลที่ 2 ตราที่ประทับบนเงินพดด้วย คือ ตราจักรและตราครุฑ สันนิษฐานว่าตราครุฑ มาจากพระนามเดิมของรัชกาลที่ 2 คือ "ฉิม" ซึ่งเป็นวิมานของพญาครุฑ
สมัยรัชกาลที่ 3 ตราปราสาทเป็นตราประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ผลิตเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นอกจากนี้ยังมีการผลิตเงินพดด้วงเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญๆ
สมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยจากเงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ ในสมัยนี้จึงถือว่ามีการใช้เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยมขึ้นเป็นครั้งแรก ประกาศให้เลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2447 เป็นต้นมา
สมัยรัชกาลที่ 5 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่สำคัญ พระองค์มีพระราชดำริว่า มาตราของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยากต่อการคำนวณ และการจัดทำบัญชี
สมัยรัชกาลที่ 6 มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้แต่ไม่มี การเปลี่ยนแปลงรูปแบบมากนัก ส่วนใหญ่เป็นเหรียญกษาปณ์ที่มีราคาไม่สูงนัก คือ 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์, และ 1 สตางค์
สมัยรัชกาลที่ 7 ในรัชกาลนี้มีการผลิตเหรียญหมุนเวียนออกใช้ไม่มากนัก เนื่องจากอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เหรียญประจำรัชกาลที่นำออกใช้เป็นเหรียญชนิดราคา 50 และ 25 สตางค์ ตราพระบรมรูป-ช้างทรงเครื่อง
สมัยรัชกาลที่ 8 เหรียญประจำรัชกาลที่ผลิตออกใช้หมุนเวียน เป็นเหรียญตราพระบรมรูป-พระครุฑพ่าห์ ชนิดราคา 50, 25, 10 และ 5 สตางค์ มี 2 รุ่น คือ รุ่นแรกมีพระบรมรูปเมื่อครั้นเจริญพระชนมพรรษา
สมัยรัชกาลที่ 9 นอกจากนี้ยังมีการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เพื่อบันทึกเหตุการณ์สำคัญ อันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และหน่วยงานต่าง ๆ



เงินตราฟูนัน
เงินตราทวารวดี
เงินตราศรีวิชัย
เงินตราสุโขทัย
เงินตราสมัยกรุงศรีอยุธยา

เงินตราสมัยกรุงธนบุรี
สมัยรัชกาลที่ 1
สมัยรัชกาลที่ 2
สมัยรัชกาลที่ 3
สมัยรัชกาลที่ 4


สมัยรัชกาลที่ 5
สมัยรัชกาลที่ 6
สมัยรัชกาลที่ 7
สมัยรัชกาลที่ 8
สมัยรัชกาลที่ 9




วัตถุประสงค์ เพื่อใช้แลกเปลี่ยนระหว่างของ2สิ่งขึ้นไป

concept พกพาง่ายและสะดวก ทนทาน

ภายใต้เงื่อนไข จะต้องได้การรับรองจากรัฐบาลแล้วเท่านั้น มูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนของเหรียญมาจากมูลค่าทางด้านประวัติของมัน และ/หรือ มูลค่าที่แท้จริงของโลหะที่เป็นส่วนประกอบ (เช่น เหรียญทอง, เหรียญเงิน หรือเหรียญแพลตินัม)

คุณสมบัติ - มีความคงทนเพื่อให้คงอยู่ได้นาน

-ขนาดและสี จะต้องบอกมูลค่าของเหรียญนั้นๆได้

-น้ำหนักเบาเพื่อพกพาสะดวก แต่น้ำหนักของแต่ละเหรียนญก็ต่างกันไปตามมูลค่าของเหรียญนั้นๆ

เงินในยุคแรกเป็นเงินพดด้วงด้วงมีลักค่อนข้างกลมรูปที่ใช้พิมพ์ก็แล้วแต่ยุคแต่ละสมัย เช่นเงินยุคทราวดี เป็นรูปบูรณกลศ

(หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม) หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ รูปเหล่านี้น่าจะออกแบบตามความเชื่อของคนในยุคนั้น ลักษณะของเงินพดด้วงเป็นก้อนกลมจึงง่ายต่อการพิมพ์ลึก ซึ่งในสมัยรัชกาลที่4เปลี่ยนมาเป็นการพิมพ์นูน เงินพดด้วงส่วนใหญ่จะเป็นลายที่เป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นรูปสัตว์ ดอกไม่ ต้นไม่ต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนในยุคนั้นมีความผูกพันกับธรรมชาติ อยู่กับความอุดมสมบูรณ์ และการออกแบบลายพิมพ์จะไม่มีลายละเอียดมาก เพื่อความง่ายต่อการพิมพ์ด้วย ในรัชกาลที่4เริ่มมีการทำเงินในรูปแบบเหรียญ และยังคงรูปทรงกลม ในยุครัชกาลที่4เหรียญจะเป็นรูปฉัตร ส่วนอีกด้านจะเป็นช้าง และในสมัยรัชกาลที่5นี้เอง มีการเปลี่ยนแปลงคือการพิมพ์รูปพระมหากษัตริ์ย์ลงบนเหรียญจนมาถึงปัจจุบันนี้

Wednesday, February 28, 2007

assignment


Steven Hller
about

Steven Heller wears many hats (in addition to the the New York Yankees): For 33 years he has been an art director of the New York Times, originally on the OpEd Page and for almost 30 of those years on the New York Times Book Review. Currently he is a senior art director. He also writes book reviews and obituaries for the Times. He is the founder and co-chair of the MFA Designer as Author program at the School of Visual Arts, New York, where he lectures on the history of graphic design. Prior to this, he lectured for 14 years on the history of illustration in the MFA Illustration as Visual Essay program at the School of Visual arts. He also was director for ten years of SVA’s Modernism & Eclecticism: A History of American Graphic Design symposiums. With Seymour Chwast he has directed Push Pin Editions, a packager of visual books, and with his wife Louise Fili he has produced over twenty books and design products for Chronicle Books and other publishers. For over two decades he has been contributing editor to PRINT, EYE, BASELINE, and I.D. magazines, had has contributed hundreds of articles, critical essays, and columns (including his interview column "Dialogue" in PRINT) to a score of other design and culture journals. As editor of the AIGA JOURNAL OF GRAPHIC DESIGN he published scores of critical and journalistic writers on design, and currently as editor of AIGA VOICE: Online Journal of Design, he continues to help build a critical vocabulary for the field. The author, co-author, and/or editor of over 100 books on design and popular culture, Heller has worked with a score of publishers, including Chronicle Books, Allworth Press, Harry N. Abrams, Phaidon Press, Taschen Press, Abbeville Press, Thames & Hudson, Rockport, Northlight, and more. He is currently completing "Iron Fists: Branding the Totalitarian State" for Phaidon Press, an anaylsis of how the major dictatorships used graphics to propagate their ideologies. He has produced or been curator of a number of exhibitions, including "Art Against War," "The Satiric Image: Painters as Cartoonists and Caricaturists," "The Malik Verlag," and "The Art of Simplicissumus: Germany’s Most Influential Satire Magazine," among them. He has organized various conferences, including The School of Visual Arts’ "How We Learn What We Learn," devoted to the future of design education, and the AIGA’s "Looking Closer: Graphic Design History and Criticism." Heller is also the recipient of the AIGA Medal for Lifetime Achievement in 1999, the Art Directors Club Hall of Fame Special Educators Award in 1996, The Pratt Institute Herschel Levitt Award in 2000, and the Society of Illustrators Richard Gangel Award for Art Direction in 2006. This website is a summary of Steven Heller’s lifetime achievements in design practice, publishing, and teaching. Over time a blog component will be added and various articles will be made available for download.


http://www.hellerbooks.com/


ประวัติการทำงานของ Steven Heller

เป็นนักวิจารณ์ของบริษัท AIGA ซึ่งเป็นเป็นบริษัท Graphic Design เป็นผู้สร้างบริษัทและเป็นประธานของ MFA Design แผนก Visual Art เป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ 25 ฉบับ ประกอบด้วยPrint, U&LC, Eye Magazine, Graphic Design Issues, Mother Jones ตั้งแต่ปี1986 เขาได้เป็น Art Director Senior และเป็นที่ปรึกษาบรรณาธิการของนิตยสาร New York Time เขียนหนังสือเกี่ยวกับ Graphic Design, Illustrator และการ์ตูนล้อเลียนการเมือง มากกว่า 100 เล่ม เป็นนักเขียนที่ให้ความรู้ที่เกี่ยวกับการออกแบบ Graphic และหนังสืออื่นๆ เช่น หนังสือที่เกี่ยวกับ Typographer- ประวัติศาสตร์ของ Graphic Design- Graphic Design จากสมัย Victorian

ถึงยุค Post modern- Typology จากสมัย Victorian ถึงยุค Post Modern- หนังสือเกี่ยวกับการเป็นนักออกแบบ Graphic Designer

ศิลปะการตกแต่งของอิตาลี่ เป็นการออกแบบในช่วงระหว่างสงคราม

Steven Heller ได้เป็น Art Director ครั้งแรกในปี 1974 ทำงานเกี่ยวกับโฆษณาต่างๆในหนังสือมากมายประกอบด้วยInterview magazine,The New York free Press,Rock Magazine, Screw Magazine, Mobster Time,Evergreen Review And the Irish Arts Center

ได้รับรางวัลเกี่ยวกับการออกแบบใหญ่ๆ 3 รางวัลจากThe National Endowment For the Arts ของ New York Steven

เป็นผู้ดูแลงานนิทรรศการการออกแบบประกอบด้วย “The Art Of Satire” ที่ Pratt Graphic Center และ “Art Against War” ที่ Parson School Of Design ตั้งแต่ปี1986 เขาจะทำงานแนว Modernism & Eclecticismความเป็นมาของการออกแบบ Graphic ของ America

รางวัลที่ได้รับ... ปี 1998 เขาได้รางวัล A Special Educators Award,The Art Diritor’s Club- ปี 1999 ได้รับเหรียญ AIGA เป็นรางวัลผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตและในปีเดียวกันไดรางวัลจากสถาบัน Pratt- ปี 2000 ได้รับรางวัล Outstanding Client Award,Graphic Artists Guild














Collage

- A picture or design created by adhering such basically flat elements as newspaper, wallpaper, printed text and illustrations, photographs, cloth, string, etc., to a flat surface, when the result becomes three-dimensional, and might also be called a relief sculpture / construction / assemblage. Most of the elements adhered in producing most collages are "found" materials. Introduced by the Cubist artists, this process was widely used by artists who followed, and is a familiar technique in contemporary art.
"Collage" was originally a French word, derived from the word coller, meaning "to paste."



การคอลาส

เป็นงานศิลปะที่ผสมผสานระหว่าง ภาพต่างๆ รูป text มารวมกัน จากงานที่ต่าความหมายกัน

นำมาผสมผสานเพื่อให้เกิดความหมายใหม่





























สิ่งที่นำเสนอนี้เป้นการทำ collage โดยการนำเอาภาพของผลส้มมาทำให้เกิด


รูปปแบบต่างๆ การตัดแปะแบบซ้อน แบบเรียง แบบสี และขาวดำ เพื่อให้เกิด


ภาพมุมมองต่างๆของผลส้มซึ่งมีลักษณะเป็นทรงกลม ซึ่ง





Symbol

เป็นการถอดรหัสจากสิ่งที่ใกล้ตัว โดยเริ่มจากของที่ตัวเองรักและชอบ ได้เลือก

กระบองเพชรโดยค้นคว้าจากหลายสายพันธ์ เหลือเพียง3สายพันธ์ ที่เป็นที่นิยม

นำ3สายพันธ์นี้แยกย่อยออกมาเป็น26ชนิด นำชื่อทั้ง26ชนิดของกระบองเพชร

ตั้งแต่ A-Z นำมาทำเพลงเป็น symbol cactus














CACTUS COOKIE

ได้ลองทำ symbol cactus มาเรียงกันเพื่อแนตัวอักษรและลองมาทำเป็นfont ของ

cactus cookie โดยที่เลือก cookie เพื่อจะได้รู้ว่า symbol ที่ทำสามารถใช้ได้กับ

งานหลากหลายรูปแบบ